พืชที่มีท่อลำเลียง ได้แก่ Division Psilophyta , Division Lycophyta , Division Sphenophyta , Division Pterophyta , Division Coniferophyta , Division Cycadophyta , Division Ginkophyta , Division Gnetophyta , Division Anthophyta
1. ดิวิชันไซโลไฟตา (Division Psilophyta)
พืชที่มีท่อลำเลียงชั้นต่ำ ไม่มีใบและรากที่แท้จริงลำต้นมีลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อนขนาดสูงประมาณ 20–30 เซนติเมตร ขึ้นอยู่ตามพื้นดิน (tcrrestrial) หรือเกาะติดกับต้นไม้อื่น (epiphyte) ลำต้นแบ่งออกเป็น2ส่วนคือ ส่วนที่อยู่ใต้ดิน เป็นลำต้นชนิดไรโซม (rhizome) มีสีน้ำตาล และมีไรซอยด์ทำหน้าที่ดูดน้ำและแร่ธาตุ ลำต้นส่วนที่อยู่เหนือพื้นดิน(acrial stem)มีสีเขียว มีลักษณะเป็นเหลี่ยม ลำต้นส่วนนี้ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง ทั้งลำต้นใต้ดินและลำต้นเหนือพื้นดิน แตกกิ่งเป็น 2แฉก (dichotomous branching) ที่ส่วนของลำต้นเหนือพื้นดินมีระยางค์เล็กๆ (appcndage) ยื่นออกมาเห็นได้ทั่วไป สปอโรไฟต์ที่เจริญต้นที่จะสร้างอับสปอร์ที่มีรูปร่างเป็น 3 พู ที่ซอกของระยางค์บนลำต้นเหนือพื้นดิน อับสปอร์สร้างสปอร์ชนิดเดียว แกมีโทไฟต์มีขนาดเล็ก สีน้ำตาลไม่มีคลอโรฟิลล์ รูปร่างเป็นแท่งทรงกระบอก แตกแขนงได้
2. ดิวิชันไลโคไฟตา (Division Lycophyta)
พืชที่มีท่อลำเลียงที่มีลำต้น ใบ และรากที่แท้จริงแต่ยังมีใบขนาดเล็กพวกที่เจริญอยู่บนพื้นดิน อาจมีลำต้นตั้งตรง หรือทอดนอน บางชนิดอาศัยเกาะบนต้นไม้อื่น ลำต้นแตกกิ่งเป็น 2 แฉก ใบมีขนาดเล็ก เป็นใบแบบ ไมโครฟิลล์(microphyll)คือเป็นใบที่มีเส้นใบเพียงเส้นเดียว สปอโรไฟต์ที่เจริญเต็มที่ แล้วจะสร้างอับสปอร์บนใบที่มักมีรูปร่างและขนาดแตกต่างไป จากใบที่พบทั่วไป เรียกใบชนิดนี้ว่า สปอโรฟิลล์ (sporophyll) ซึ่งจะมาเรียงซ้อนกันแน่นอยู่ที่ปลายกิ่งเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า สโตรบิลัส (strobilus) หรือโคน (cone) พืชในดิวิชันนี้มีทั้งที่สร้างสปอร์ชนิดเดียวและ 2 ชนิด ตัวอย่างที่รู้จักกันดีได้แก่ Lycopldium และ Selaginella
Lycopodium รู้จักในชื่อไทยว่า ช้องนางคลี่ สร้อยสุกรม สามร้อยยอด และหางสิงห์เป็นต้น ที่พบในปัจจุบันมีประมาณ 200 ชนิด ใบในขนาดเท่าๆ กัน เรียงตัวเป็นเกลียวโดยรอบลำต้นและกิ่ง เป็นพืชที่สร้างสปอร์ชนิดเดียว แกมีโทไฟต์มีขนาดเล็ก บางชนิดมีคลอโรฟิลล์เจริญอยู่บนพื้นดิน บางชนิดไม่มีคลอโรฟิลล์เจริญอยู่ใต้ดิน
3. ดิวิชันสฟีโนไฟตา (Division Sphenophyta)
พืชที่มีท่อลำเลียงในดิวิชันนี้มีเพียง วงศ์เดียว คือ Equisetaceae แกมีโตไฟต์มีขนาดเล็ก เจริญอยู่ใต้ดิน สปอโรไฟต์มีขนาดใหญ่ อายุยืน มีซิลิกา ลำต้นเป็นข้อปล้องชัดเจน ปล้องเป็นร่องและสั้น ข้อมีใบแบบ ไมโครฟิลล์อยู่รอบข้อ เรียงแบบ whorl เป็น homosporous plant โดยสปอแรงเจียมเจริญอยู่บนโครงสร้างที่เรียกว่า สปอแรงจิโอฟอร์ (sporangiophore)

หญ้าถอดปล้องหรืออีควิเซตัม (ดิวิชันสฟีโนไฟตา) ต้นที่เห็นเด่นชัด คือสปอร์โรไฟต์มีอวัยวะสร้างสปอร์คือ สโตรบิลัส ซึ่งเป็นกลุ่มของสปอร์เเรงเจีย (อับสปอร์)
4. ดิวิชันเทอโรไฟตา (Division Pterophyta)
พืชดิวิชันนี้มีชื่อทั่วไปว่า เฟิร์น (fern) มีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพโรไฟต์ของเฟิร์นมีราก ลำต้นและใบเจริญดี เฟิร์นส่วนใหญ่มีลำต้นใต้ดิน ใบของเฟิร์นเรียกว่า ฟรอนด์ (frond) เป็นส่วนที่เห็นเด่นชัด มีขนาดใหญ่เป็นใบแบบเมกะฟิลล์ (megaphyll) มีรูปร่างลักษณะเป็นหลายแบบ มีทั้งที่เป็นใบเดี่ยว (simple leaf) และใบประกอบ (compound leaf) ใบอ่อนของเฟิร์นมีลักษณะพิเศษคือ จะม้วนเป็นวง (circinate venantion) สปอโรไฟต์ที่เจริญเต็มที่จะสร้างอับสปอร์ ซึ่งมารวมกลุ่มอยู่ที่ด้านได้ใบ แต่ละกลุ่มของอับสปอร์เรียกว่า ซอรัส (sorus) เฟิร์นส่วนใหญ่สร้างสปอร์ชนิดเดียว ยกเว้นเฟิร์นบางชนิดที่อยู่ในน้ำ และที่ชื้นแฉะ ได้แก่ จอกหูหนู แหนแดง และผักแว่นมีการสร้างสปอร์ 2 ชนิด
แกมีโทไฟต์ของเฟิร์นที่สร้างสปอร์ชนิดเดียว มีลักษณะเป็นแผ่นแบนบางสีเขียว (มีคลอโรฟิลล์) ด้านล่างมีไรซอยด์ ส่วนใหญ่มักมีรูปร่างคล้ายรูปหัวใจ (prothallus)
5. ดิวิชันโคนิเฟอโรไฟตา (Division Coniferophyta)
เป็นจิมโนสเปิร์มที่มีจำนวนมากที่สุด มีหลายสกุลด้วยกัน ที่รู้จักกันดีคือ Pinus ได้แก่ สนสองใบ และสนสามใบ เป็นต้น สปอโรไฟต์ของ Pinus มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดค่อนข้างใหญ่ และแตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก ใบมีขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายเข็ม อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม สปอโรไฟต์ที่เจริญเต็มที่จะสร้างโคนเพศผู้ที่มีขนาดเล็กและโคนเพศเมียที่มีขนาดใหญ่บนต้นเดียวกัน
6. ดิวิชันไซแคโดไฟตา (Division Cycadophyta)
พืชที่สร้างเมล็ดเปือย ได้แก่ ปรง ( Cycad )
7. ดิวิชันกิงโกไฟตา (Division Ginkophyta)
พืชในดิวิชั่นนี้คือ แป็ะก๊วย (Ginko biloba) และสนปรง เรียกรวมกันว่าพวกจิมโนสเปิร์ม (Gymnosperm) ซึ่งหมายถึงพืชมีเมล็ดแต่ไม่มีอะไรมาห่อหุ้มเมล็ด ใบกว้าคล้ายรูปพัด ชอบขึ้นในเขตหนาว เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี พืชชนิดนี้มีเมล็ดเปลือย (naked seed) ขนาดใหญ่ รับประทานได้ในรูปของหวาน
8. ดิวิชันเเนโทไฟตา(Division Gnetophyta)
จัดเป็น Gymnosperm ที่มีวิวัฒนาการสูงสุด มีลักษณะบางอย่าง ใกล้เคียงกับพืชมีดอก ส่วนใหญ่พบในเขตแห้งแล้งหรือทะเลทราย เป็นพวกซีโรไฟต์ บางชนิดพบในป่าเขตร้อน มีเพียง 3 สกุล ได้แก่สกุล Gnetum, Welwitchia และ Ephedra รวมประมาณ 30 ชนิด ในประเทศไทยพบสกุลเดียวคือ Gnetum พบประมาณ 8 ชนิด Ephedra เป็นกลุ่มของพืชที่มีทั้งต้นแยกเพศ (dioecious) และสมบูรณ์เพศ (monoecious) ลักษณะของลำต้นที่ดูเหมือนไม่มีใบ คล้ายกับลำต้นที่ต่อกันเป็นข้อ ๆ ของหญ้าถอดปล้อง แต่ความจริงแล้ว Ephedra นั้นมีใบเป็นเกล็ดขนาดเล็กที่ ไม่สังเคราะห์แสง แต่ใช้ลำต้นทำหน้าที่แทน Welwitschia mirabilis เป็นพืชเพียงชนิดเดียวในสกุลนี้ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ มีการเจริญเติบโตที่ช้ามาก ลำต้นของมันมีเนื้อไม้ที่โค้งงอ และมีเปลือกหุ้ม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นโตได้ถึง 1.5 เมตร W. mirabilis เป็นพืชที่แยกเพศ โดยที่มันจะสร้าง male และ female strobilus แยกต้นกัน การปฏิสนธิใน W. mirabilis แปลกกว่าพืชอื่น ๆ คือ มันจะสร้างท่อเจริญออกมาจากไข่ ขึ้นไปเชื่อมกับ pollen tube ที่สร้างขึ้นจาก pollen โดยการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นภายใน
ท่อที่เชื่อมรวมกันนี้ Gnetum เป็นพันธุ์พืชในเขตร้อนชื้น ที่มีต้นแยกเพศลักษณะเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ และมีใบเจริญดี แผ่แบนและมีเส้นใบเป็นร่างแหเหมือนกับใบของพืชใบเลี้ยงคู่
9. ดิวิชันอแนโทไฟตา (Division Anthophyta)
พืชที่สร้างเมล็ดมีสิ่งห่อหุ้ม ถือว่ามีวิวัฒนาการสูงสุด พบมากที่สุด ได้แก่ พืชดอก (Flowering plant)
แบ่งออกได้เป็น 2 คลาส คือ
1. คลาสไดคอทีเลโดเนส (Class Dicotyledones) ได้แก่ พืชใบเลี้ยงคู่ทั้งหมด มีอยู่ประมาณ 170,000 ชนิด ลักษณะทั่วไปคือ มีใบเลี้ยง 2 ใบ เส้นใบเป็นร่างแห รากเป็นระบบรากแก้ว และส่วนประกอบของดอก (เช่น กลีบเลี้ยง กลีบดอก) มีจำนวนเป็น 4–5 หรือ ทวีคูณของ 4–5
2. คลาสมอโนคอทีเลโดเนส (Class Monocotyledones) ได้แก่ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวทั้งหมดมีอยู่ประมาณ 60,000 ชนิด ลักษณะทั่วไป คือ มีใบเลี้ยงใบเดียว ใบมีเส้นใบเรียงตัวแบบขนาน รากเป็นระบบรากฝอย ส่วนประกอบของดอกมีจำนวนเป็น 3 หรือทวีคูณของ 3